จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

การบ้านบทที่ 5 จริยธรรมสารสนเทศ และสิทธิทางปัญญา

1. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง 

ตอบ     อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง     การกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น   ระบบคอมพิวเตอร์ในที่นี้ หมายรวมถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมกับระบบดังกล่าวด้วย
สำหรับอาชญากรรมในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (เช่น อินเทอร์เน็ต) อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่ง   คือ
       อาชญากรรมไซเบอร์ (อังกฤษ: Cybercrime) อาชญากรที่ก่ออาชญากรรมประเภทนี้ มักถูกเรียกว่า แครกเกอร์
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ
       1.การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับ
ความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
      2.การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ
และในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี
ต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน
 
     การประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมหาศาล อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ อาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบ หนึ่งที่มีความสำคัญ

อาชญากรทางคอมพิวเตอร์
1. พวกเด็กหัดใหม่ (Novice)
2. พวกวิกลจริต (Deranged persons)
3. อาชญากรที่รวมกลุ่มกระทำผิด (Organized crime)
4. อาชญากรอาชีพ (Career)
5. พวกหัวพัฒนา มีความก้าวหน้า(Con artists)
6. พวกคลั่งลัทธิ(Dremer) / พวกช่างคิดช่างฝัน(Ideologues)
7. ผู้ที่มีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์อย่างดี (Hacker/Cracker )


            Hacker หมายถึง บุคคลผู้ที่เป็นอัจฉริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี  สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยเจาะผ่านระบบ รักษาความปลอดภัยของ  คอมพิวเตอร์ได้ แต่อาจไม่แสวงหาผลประโยชน์ 

           Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี  จนสามารถเข้าสู่ระบบได้ เพื่อเข้าไปทำลายหรือลบแฟ้มข้อมูล หรือทำให้  เครื่องคอมพิวเตอร์ เสียหายรวมทั้งการทำลายระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
 การทุจริตในโรงพยาบาล และบางบริษัท
โดยการทำใบส่งของปลอมจากคอมพิวเตอร์ เช่นเจ้าหน้าที่ควบคุมคอมพิวเตอร์ ยักยอกเงินโรงพยาบาล 40,000 เหรียญ โดยการทำใบส่งของปลอมที่กำหนดจากเครื่องคอมพิวเตอร์โรงพยาบาลเจ้าหน้าที่ ควบคุมสินเชื่อ  จัดทำใบส่งของปลอม จากบริษัทที่ตั้งขึ้นปลอมโดยให้เช็คสั่งจ่ายบริษัทปลอมของตัวเองที่ตั้งขึ้น  สูงถึง 155,000 เหรียญ


2. จงอธิบายความหมายของ 
2.1 Hacker 
  Hacker คือ ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบคอมพิวเตอร์อย่างสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครือข่าย , ระบบปฏิบัติการ  จนสามารถเข้าใจว่าระบบมีช่องโหว่ตรงไหน หรือสามารถไปค้นหาช่องโหว่ได้จากตรงไหนบ้าง เมื่อก่อนภาพลักษณ์ของ Hacker จะเป็นพวกชั่วร้าย ชอบขโมยข้อมูล หรือ ทำลายให้เสียหาย  แต่เดี๋ยวนี้ คำว่า Hacker หมายถึง Security Professional ที่คอยใช้ความสามารถช่วยตรวจตราระบบ และแจ้งเจ้าของระบบว่ามีช่องโหว่ตรงไหนบ้าง อาจพูดง่ายๆว่าเป็น Hacker ที่มีจริยธรรมนั่นเอง ในต่างประเทศมีวิชาที่สอนถึงการเป็น Ethical Hacker หรือ แฮกเกอร์แบบมีจริยธรรม ซึ่งแฮกเกอร์แบบนี้เรียกอีกอย่างว่า White Hat Hacker ก็ได้ ส่วนพวกที่นิสัยไม่ดีเราจะเรียกว่าพวกนี้ว่า Cracker หรือ Black Hat Hacker ซึ่งก็คือ มีความสามารถเหมือน Hacker ทุกประการ เพียงแต่พฤติกรรมของ Cracker นั้นจะเป็นการกระทำที่ขาดจริยธรรรม เช่น ขโมยข้อมูลหรือเข้าไปทำลายระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานไม่ได้ เป็นต้น 

      วิธีการที่ Hacker และ Cracker ใช้เข้าไปก่อกวนในระบบ Internet มีหลายวิธี แต่วิธีที่นิยมมากมี 3 วิธี ดังนี้
1.Password Sniffers เป็นโปรแกรมเล็กๆที่ซ่อนอยู่ในเครือข่าย และถูกสั่งให้บันทึกการ Log on และรหัสผ่าน (Password) แล้วนำไปเก็บในแฟ้มข้อมูลลับ
2. Spooling เป็นเทคนิคการเข้าสู่คอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะทางไกล โดยการปลอมแปลงที่อยู่อินเนอร์เน็ต (Internet Address) ของเครื่องที่เข้าได้ง่ายหรือเครื่องที่เป็นมิตร เพื่อค้นหาจุดที่ใช้ในระบบรักษาความปลอดภัยภายใน วิธีการคือ การได้มาถึงสถานภาพที่เป็นแก่นหรือราก (Root) ซึ่งเป็นการเข้าสู่ระบบขั้นสูงสำหรับผู้บริหารระบบ เมื่อได้รากแล้วจะสร้าง Sniffers หรือโปรแกรมอื่นที่เป็น Back Door ซึ่งเป็นทางกลับลับๆใส่ไว้ในเครื่อง
3. The Hole in the Web เป็นข้อบกพร่องใน World -Wide-Web (WWW ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต เนื่องจากโปรแกรมที่ใช้ในการปฏิบัติการของ Website จะมีหลุมหรือช่องว่างที่ผู้บุกรุกสามารถทำทุกอย่างที่เจ้าของ Site สามารถทำได้
2.2  Cracker
cracker คือบุคคลที่บุกรุกหรือรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลด้วยเจตนาร้าย cracker เมื่อบุกรุกเข้าสู่ระบบ จะทำลายข้อมูลที่สำคัญทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออย่าง น้อย
ทำให้เกิดปัญหาในระบบคอมพิวเตอร์ของเป้าหมาย โดยกระทำของ crackerมีเจตนามุ่งร้ายเป็นสำคัญ คำจำกัดความเหล่านี้ถูกต้องและอาจใช้โดยทั่วไปได้อย่างไรก็ตามยังมีบททดสอบอื่นอีก เป็นบททดสอบทางกฏหมายโดยการใช้เหตุผลทางกฏหมายเข้ามาใช้ในสมการ คุณสามารถแยกความแตกต่างระหว่างhacker และ cracker บททดสอบนี้ไม่ต้องการความรู้ทางกฏหมายเพิ่มเติมแต่อย่างใด มันถูกนำมาใช้ง่าย ๆ โดยการสืบสวนเช่นเดียวกับ "men rea"

2.3 สแปม 

สแปม (Spam) คืออะไร

สแปม (Spam) คือ การส่งอีเมลที่มีข้อความโฆษณาไปให้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้รับ การสแปมส่วนใหญ่ทำเพื่อการโฆษณาเชิงพาณิชย์ มักจะเป็นสินค้าที่น่าสงสัย หรือการเสนองานที่ทำให้รายได้อย่างรวดเร็ว หรือบริการที่ก้ำกึ่งผิดกฏหมาย ผู้ส่งจะเสียค่าใช้จ่ายในการส่งไม่มากนัก แต่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะตกอยู่กับผู้รับอีเมลนั้น

เมื่อคุณได้รับ อีเมลที่มีหัวข้อเช่น "Make Money from Home" หรือ ?XXX Hot SEXXXY Girls" ถ้าอีเมลเหล่านี้ส่งมาจากคนที่คุณไม่รู้จัก แน่นอนว่าคุณไม่ต้องการรับอีเมลเหล่านี้แน่ ๆ เพราะมันจะทำให้คุณเสียเวลา ค่าใช้จ่าย แบนด์วิดธ์ และพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ในการดาวน์โหลดอีเมลเหล่านี้มาอ่าน ถึงแม้จะไม่มีวิธีที่จะกำจัดอีเมลเหล่านี้ได้ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่คุณก็สามารถทำบางอย่างเพื่อปัองกันจดหมายขยะที่น่ารำคาญเหล่านี้ได้

ไซต์ ในอินเทอร์เน็ตหลาย ๆ ไซต์ที่ได้เงินจากการขายรายชื่อที่อยู่อีเมลให้กับผู้ส่งจดหมายขยะ (spammer) มีเว็ปไซต์หนึ่งที่ขายที่อยู่อีเมล 1 ล้านรายชื่อเพื่อเงินเพียง 59.95 ดอลลาร์ ส่วนอีกเว็ปไซต์หนึ่งขายซีดีที่มีรายชื่ออีเมล 15 ล้านชื่อเพื่อเงิน 120 ดอลลาร์

ทำไมจดหมายขยะถึงเพิ่มขึ้นทุกวัน ?

ผู้ ส่งจดหมายขยะจำเป็นต้องส่งไปจำนวนมาก ๆ เพราะเครื่องมือในการป้องกันจดหมายขยะฉลาดขึ้นเรื่อย ๆ และผู้ส่งเองก็มีวิธีใหม่ ๆ ในการค้นหาที่อยู่อีเมลและวิธีการหลบหลีกการป้องกันจากจดหมายขยะด้วย นอกจากนี้ การทำการตลาดทางอีเมลยังมีค่าใช้จ่ายถูก ในสหรัฐ ฯ ผู้ส่งอีเมลขยะจ่ายน้อยกว่าหนึ่งเพนนีต่อ อีเมลหนึ่งฉบับ ถ้าเปรียบเทียบกับการทำการตลาด ผู้ส่งจ่าย 1 ดอลลาร์สำหรับขายสินค้าทางโทรศัพท์ และ 75 เซ็นต์สำหรับการส่งจดหมายทางไปรษณีย์

spammer รู้ที่อยู่อีเมลของพวกเราได้อย่างไร

1. spammer ใช้โปรแกรมที่เก็บรวมรวมที่อยู่อีเมลโดยอัตโนมัติที่เรียกว่า Bot หรือ robot ที่สามารถ สแกนอินเทอร์เน็ตเพื่อหาที่อยู่อีเมล วิธีการหนึ่งที่ใช้เพื่อป้องกันวิธีนี้คือการใช้ที่อยู่อีเมลแจกฟรีแบบ web based email (อย่าง Hotmail.com หรือ yahoo.com เป็นต้น) แล้วจึงเก็บ POP mail ไว้สำหรับคนรู้จักและครอบครัวเท่านั้น วิธีนี้ไม่สามารถป้องกันสแปมได้ทั้งหมด แต่ก็สามารถป้องกัน bot ไม่ให้รู้ที่อยู่อีเมลหลักของคุณได้

ถ้าคุณมีเว็ปไซต์ของคุณเอง อย่าทำ hyperlink ให้กับ email address เพราะ spammer สามารถ ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า spiders เพื่อรวบรวมเว็ปที่มี email address อยู่ โดย spiders สามารถไปตามลิงค์ต่าง ๆ และรวบรวมลิงค์ mailto คุณควรทำที่อยู่อีเมลของคุณให้เป็น text แทน เพื่อไม่ให้ spiders สามารถทำงานได้ ถ้าผู้ที่ต้องการส่งอีเมลถึงคุณ เขาจะไม่รังเกียจที่จะพิมพ์ที่อยู่อีเมลลงไปในโปรแกรมส่งอีเมลด้วยตัวเขาเอง

นอกจากนี้การส่งข้อความเข้าไปใน newsgroup โดยบอกที่อยู่อีเมลของคุณไปด้วย ทำให้ bots สามารถค้นหาที่อยู่อีเมลใน newsgroupได้ จดหมาย Spam ที่คุณได้รับบางครั้งก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณส่งข้อความของคุณไปที่ newsgroup ใด เช่น ถ้าคุณส่งข้อความเข้าไปที่ Alt.DVD คุณอาจได้รับอีเมลที่ให้ข้อเสนอที่เกี่ยวกับ DVD

ด้วยเหตุนี้ผู้คน ส่วนใหญ่จึงไม่ได้ใช้ที่อยู่อีเมลจริง ๆ หรือคุณอาจใช้วิธีเพิ่มตัวอักษรเข้าไปในท้ายที่อยู่เพื่อหลอก bot เช่น ถ้าคุณมีที่อยู่อีเมลคือ user@XYZ.net คุณสามารถบอกที่อยู่อีเมลเป็น user@XYZ.REMOVE.net แล้วจึงบอกในข้อความนั้นให้ผู้อ่านรู้ว่าให้นำคำว่า "REMOVE" ออกไปเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง (วิธีอื่น ๆ ที่คุณสามารถใช้เพื่อหลีกเลี่ยง bot เมื่อคุณจำเป็นต้องใส่ที่อยู่อีเมลในอินเทอร์เน็ต เช่น การเพิ่มช่องว่างเข้าไป เช่น ?user @ hotmail.com? หรือการเปลี่ยน @ เป็น at เช่น ?user at hotmail.com? เป็นต้น)

ก่อนที่คุณจะโพสต์ที่อยู่ อีเมลของคุณใน newsgroup หรือเว็ปไซต์ใด ๆ หรือการสำรวจข้อมูลใด ๆ ก็ตาม คุณควรสมัคร free email account อีกแห่งหนึ่ง ที่ไม่ใช่อีเมลหลักของคุณ ใช้อีเมลหลักของคุณสำหรับ คนที่คุณสามารถเชื่อถือได้เท่านั้น

ที่เว็ปไซต์ http://www.u.arizona.edu/~trw/spam/ มีสคริปท์แจกฟรีที่คุณสามารถใช้เพื่อเข้ารหัสที่อยู่อีเมลของคุณเพื่อไม่ให้ bot สามารถหาที่อยู่อีเมลของคุณได้


2. ถ้าคุณได้รับจดหมายลูกโซ่ อย่างเช่น "ส่งอีเมลนี้ต่อไปให้คนสิบคนแล้วไมโครซอฟท์จะส่งเช็คมูลค่า 1000 ดอลลาร์มาให้คุณ" ถ้าคุณเคยได้รับอีเมลที่มีรายชื่อผู้รับจำนวนมาก อย่าส่งต่ออีเมลเหล่านี้เนื่องจาก ที่อยู่อีเมลของคุณจะติดไปพร้อมกับอีเมลเหล่านี้

เมื่อคุณได้รับอี เมลลูกโซ่มาจากแหล่งที่ไม่รู้จัก บอกว่า "โปรดตอบจดหมายนี้ โดยมีหัวข้อตอบกลับว่า Remove เพื่อยกเลิกรับการเป็นสมาชิกแจ้งข่าวสารทางอีเมล" คุณไม่ควรตอบอีเมลนี้ เพราะการส่งอีเมลนี้ใช้เพื่อพิสูจน์ว่าที่อยู่อีเมลนี้มีจริง ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ส่งอีเมลขยะเอง

3.เมื่อคุณป้อนที่อยู่อี เมลในฟอร์มของเว็ปไซต์เพื่อสมัครบริการของเว็ปนั้น ถึงแม้ว่าเว็ปไซต์นั้นสัญญาว่าจะเก็บที่อยู่อีเมลไว้เป็นความลับ แต่ดูเหมือนคำสัญญาไม่ได้ป้องกันให้บริษัทเหล่านั้นเปิดเผยข้อมูลให้บุคคล ที่สามได้เลย มีคนหนึ่งที่เคยสมัครกับเว็ปไซต์ประเภท joke of the day โดยบอกที่อยู่อีเมลแบบ web based ไป เป็นครั้งเดียวที่เขาได้สมัครเพื่อขอใช้บริการเว็ปในอินเทอร์เน็ต ภายในหนึ่งสัปดาห์ต่อมาเขาได้รับจดหมายขยะ มีตั้งแต่เรื่อง "Make A Million $$$" ไปจนถึง How To Keep Women Happy

4.การใช้คำทั่ว ๆ ไป (เช่นเป็นคำใน dictionary) เป็นชื่อแอกเคาท์ช่วยให้ผู้ส่งจดหมายขยะสามารถเดาชื่อเหล่านี้และส่งไปได้ วิธีการแก้ไขคือการใช้ชื่อแอคเคาท์ที่สะกดผิด จะช่วยให้ผู้ส่งจดหมายขยะยากที่จะคาดเดาชื่อแอคเคาท์และส่งอีเมลมาแบบไม่ เลือกได้

5.ไซต์ที่มีบริการที่ให้คุณสามารถส่ง greeting cards ไปยังคนอื่น ๆ บางแห่งจะเก็บรวบรวมที่อยู่อีเมลไว้ แล้วเก็บไว้หรือขายให้กับผู้ส่งจดหมายขยะ

6.การขโมยข้อมูล โดยการสร้างเว็ปไซต์ที่จริง ๆ แล้วไม่ได้ใช้ http protocol แต่ใช้ anonymous ftp แทน มีเว็ปบราวเซอร์หลาย ๆ ตัวจะส่งที่อยู่อีเมลแทนรหัสผ่าน เพื่อเข้าไปใน anonymous ftp

2.4 ม้าโทรจัน
ม้าโทรจัน คือ โปรแกรมที่ถูกโหลดเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อ ปฎิบัติการ "ล้วงความลับ"เช่น รหัสผ่าน, User Name และข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับการ Login ระบบ ที่ถูกพิมพ์ผ่านคีย์บอร์ดโดยผู้ใช้งาน  โดยส่วนใหญ่แฮคเกอร์จะส่งโปรแกรมม้าโทรจัน เข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ หรือเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ 
     ม้าโทรจัน แตกต่างจากไวรัสที่การทำงาน ไวรัสทำงานโดย ทำลายคอมพิวเตอร์ ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อย่างแท้จริง  แต่ "ม้าโทรจัน" ไม่ทำอะไรกับคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันไม่มีคำสั่งหรือพฤติกรรมการทำลายคอมพิวเตอร์เหมือนไวรัส ม้าโทรจันเหมือนโปรแกรมทั่วไปในคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันจึงไม่ใช่ไวรัส ม้าโทรจันนั้นเป็นเครื่องมือของแฮคเกอร์ในการเจาะระบบ เพราะม้าโทรจันนั้นคือโปรแกรมที่เขียน ขึ้นเพื่อบันทึกว่าแป้นคีย์บอร์ดแป้นไหนถูกกดบ้าง ด้วยวิธีการนี้ก็จะได้ข้อมูลของ User ID, Password หลังจากนั้นโปรแกรมม้าโทรจันจะบันทึกข้อมูลลงไปใน RAM , CMOS หรือ Hidden Directory ในฮาร์ดดิสก์ แล้วก็หาโอกาสที่จะอัพโหลด ตัวเองไปยังแห่งที่ผู้เขียนม้าโทรจันกำหนด หรือบางทีแฮคเกอร์อาจจะใช้วิธีการเก็บไฟล์ดังกล่าวไปด้วยวิธีอื่น การใช้อินเตอร์เน็ต ใช้โมเด็ม หรือใช้ LAN 
ปัจจุบัน เนื่องจากเป็นยุคของอินเตอร์เน็ต (Internet )  ขนาดของโปรแกรมม้าโทรจันนั้นใหญ่ขึ้น และทำอะไรได้เบี่ยงเบนความสนใจมากขึ้น เช่น แสดงรูปภาพสกรีนเซฟเวอร์น่ารักๆ แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงของม้าโทรจันคือ "สืบเสาะหาความลับ"เหมือนเดิม ม้าโทรจันบางตัวเข้ามาเพื่อเปิดช่องว่างด้านระบบรักษาความปลอดภัย รอพวกไม่หวังดี เข้ามาปฎิบัติการอีกที และอย่างที่เราทราบกันแฮคเกอร์ บางคนวางแผนยึดเครื่องพีซีเพื่อดำเนินการโจมตีเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการทางอินเตอร์ให้หยุดให้บริการ
การป้องกัน-กำจัดม้าโทรจัน
1.ใช้ Firewall เพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากแฮคเกอร์ 
2.ใช้ซอฟต์แวร์สำหรับการตรวจจับและทำลายโทรจัน เช่น The Cleaner 3.1 ,Trojan Remover,Anti-Trojan 5 เป็นต้น

2.4 สปายแวร์ 
Spyware คือ โปรแกรมที่แฝงเข้ามาในคอมพิวเตอร์ขณะที่คุณท่องอินเตอร์เน็ต ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ และจะทำการเก็บพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเรา รวมถึงข้อมูลส่วนตัวหลาย ๆ อย่างได้แก่ ชื่อ - นามสกุล , ที่อยู่ , E-Mail --mlinkarticle--} Address และอื่น ๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงสิ่งสำคัญต่าง ๆ เช่น Password หรือ หมายเลข บัตรเครดิตของเราด้วย นอกจากนี้อาจจะมีการสำรวจโปรแกรม และไฟล์ต่าง ๆ ในเครื่องเราด้วย  และ Spyware นี้จะทำการส่งข้อมูลดังกล่าวไปในเครื่องปลายทางที่โปรแกรมได้ระบุเอาไว้ ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ในเครื่องของคุณอาจไม่เป็นความลับอีกต่อไป spyware อาจเข้ามาเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย 

วิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้ถูกโจมตีจากสปายแวร์
1.ติดตั้งโปรแกรม Anti-Spyware ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ Anti-Spyware ตรวจหา Spyware ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เเละเตือนให้เราทำการลบ
2.ไม่ดาว์นโหลดไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ
3.ตรวจ สอบ Update โปรแกรม Antivirus เนื่องจากปัจจุบันมีการสร้าง โปรแกรมประเภท Virus หรือ สปายแวร์ออกมาเผยแพร่ภายในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลาทำให้บางครั้ง หากการ Update หรือปรับปรุง {--mlinkarticle=2011--}antivirus program  หรือ Anti-Spyware อย่างไม่สม่ำเสมอหรือนานๆครั้ง ก็อาจถูกโจมตีจาก Virus หรือ Spyware ได้เช่นกัน

3. จงยกตัวอย่างกฎหมาย I.C.T หรือ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้างจงอธิบายถึงการกระทำผิดและบทลงโทษมา 5 ตัวอย่าง
การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์คืออะไร 
            แม้ว่าการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ การจำหน่ายซีดีรอมปลอมตามร้านจำหน่ายปลีก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีการละเมิดลิขสิทธิ์อีกหลายรูปแบบ ซึ่งต่างก็สร้างความสูญเสียให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ปีละหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ
            การการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์โดยทั่วไปมี ลักษณะได้แก่
            1.การละเมิดลิขสิทธิ์โดยผู้ใช้
                        เป็นรูปแบบการสร้างความเสียหายต่อ BSA มากที่สุด เรียกกันว่า "การละเมิดลิขสิทธิ์โดยผู้ใช้ในองค์กร" เกิดจากการที่องค์กรธุรกิจ ทำการสำเนาซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาต
            2.การใช้งานจำนวนมากในเครือข่าย
                        เกิดจากการมีผู้ใช้งานจำนวนมากในเครือข่ายเข้าใช้ซอฟต์แวร์ที่ส่วนกลางพร้อมกัน
            3.การละเมิดลิขสิทธิ์ทางอินเตอร์เน็ต
                        แม้จะมีผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ผ่านอินเตอร์เน็ตอย่างถูกต้องก็ตาม แต่ก็มีการละเมิดลิขสิทะผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นจำนวนมากได้เช่นกัน ได้แก่  
                        - เว็บไซต์ที่เปิดให้ดาว์นโหลดหรือแลกเปลี่ยนซอฟต์แวร์ทางการค้าโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
                        - เว็บไซต์ที่เสนอการประมูลซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือซอฟต์แวร์ที่ไม่ตรงกับช่องทางจำหน่ายที่กำหนด
                        - เครือข่าย Peer-to-Peer ที่อนุญาตให้แลกเปลี่ยนซอฟต์แวร์มีลิขสิทธิ์ระหว่างกัน
            การละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านอินเตอร์เน็ต ยังถือเป็นเรื่องคุกคามการค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญที่สุด
            4.การติดตั้ง ซอฟต์แวร์ในฮาร์ดดิสก์
                        เกิดจากการที่ผู้จำหน่ายคอมพิวเตอร์ทำการติดตั้งซอฟต์แวร์ให้กับลูกค้าอย่างผิดกฎหมาย เพื่อจูงใจให้เกิดการซื้อ
            5. การสำเนาซอฟต์แวร์อย่างผิดกฎหมาย
                        คือการทำสำเนาอย่างผิดกฎหมาย หรือจำหน่ายสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์โดยเจตนา สำหรับกรณีของซอฟต์แวร์ที่มีบรรจุภัณฑ์นั้นพบว่า ได้มีการจำหน่ายซีดีหรือดิสก์เก็ตที่ทำสำเนาอย่างผิดกฎหมายพร้อมด้วยคู่มือสัญญาการใช้งานและบัตรลงทะเบียนโดยมีบรรจุภัณฑ์และคุณสมบัติป้องกันการปลอมแปลงที่เหมือนกันกับผลิตภัณฑ์ของแท้ให้เห็นเช่นกัน

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
            ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์คือสิ่งที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ("พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์") โดยจัดเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทงานวรรณกรรม (Literary work)
            ตามพ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ กำหนดว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่นำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือให้ได้ผลอย่างหนึ่งอย่างใด ในกรณีที่บุคคลใด ทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ บุคคลนั้นจะมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท
            และหากเป็นการกระทำเพื่อการค้า จะต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 ถึง800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
            นอกจากนี้ หากผู้ใดรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น แต่ยังนำไปขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ เผยแพร่ต่อสาธารณชน แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ นำเข้าหรือสั่งเข้ามาในประเทศไทย เพื่อหากำไร ก็มีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ โดยมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาทและหากเป็นการทำเพื่อการค้าผู้นั้นจะต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 3เดือน ถึง ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 บาทถึง 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
            นอกเหนือจากการแก้ไขบรรเทาความเสียหายในคดีอาญาแล้ว เจ้าของลิขสิทธิ์ยังสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่ง ในกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ในซอฟต์แวร์ภายใต้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์หากศาลพบว่ามีการกระทำความผิดจริงอาจมีคำห้ามมิให้กระทำละเมิดอีกต่อไป และมีคำสั่งให้ชำระค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงอันเนื่องจากการละเมิดดังกล่าว

สิทธิตามกฎหมาย
            ภายใต้ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ได้ให้ความคุ้มครองเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยให้สิทธิแก่ผู้สร้างสรรค์เพียงผู้เดียว ในงานที่มีลิขสิทธิ์ดังกล่าว ดังต่อไปนี้
            - สิทธิในการสำเนาทั้งหมดหรือบางส่วนของโปรแกรม
            - สิทธิในการดัดแปลงหรือเปลี่ยนแปลงโปรแกรม สิทธิในการเผยแพร่งานต่อสาธารณชน
            - สิทธิในการให้ผู้อื่นเช่าโปรแกรม
            นั้นหมายความว่า คุณสามารถสำเนาดัดแปลง หรือเช่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ หากเจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาต โดยอยู่ในรูปของการให้สิทธิในการใช้งาน (license) ดังนั้น ทุกครั้งที่คุณซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างถูกกฎหมาย คุณจะได้รับสัญญาสิทธิการใช้งาน (License Agreement) ซึ่งจะระบุสิทธิที่คุณได้รับเพื่อการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นหากคุณกระทำสิ่งที่สัญญาไม่อนุญาต หรือขัดต่อ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ จะถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและต้องรับโทษ

เราสามารถหลีกเลี่ยงการทำผิดกฎหมายได้อย่างไร?
            วิธีง่าย ๆ ก็คือ ซื้อและใช้แต่ซอฟต์แวร์ของแท้เท่านั้น
            ลักษณะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่อนุญาตต่อผู้ใช้ จะถูกระบุไว้ในสัญญาการใช้งาน ดังนั้น คุณควรอ่านสัญญาการใช้งานเสมอ เพื่อให้ทราบถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้ ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์
            อย่างไรก็ตามคุณจะไม่ทำผิดกฎหมาย หากปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์จากสมาชิกของBSA
              - ไม่ติดตั้งและใช้ซอฟต์แวร์เดียวกันบนคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน
              - ทำสำเนาเพียง ชุด เพื่อจุดประสงค์ในการสำรองซอฟต์แวร์เท่านั้น
              - ไม่ติดตั้งซอฟต์แวร์ไว้ที่เซิร์ฟเวอร์
              - ไม่ให้ผู้อื่นยืมซอฟต์แวร์ของคุณไปใช้

ทำไมเราจึงควรให้ความใส่ใจ ?
            หากคุณติดตั้งซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย หรือทำซ้ำซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาต คุณอาจต้องโทษปรับหรือจำคุก และนอกจากความผิดทางกฎหมายแล้วคุณอาจเสี่ยงต่อ
            - การเสียเวลา
            - การสูญเสียเงิน
            - การสูญเสียความน่าเชื่อถือ
            - การสูญเสียธุรกิจ
            หนึ่งในอันตรายที่รุนแรงที่สุดจากการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายก็คือ อันตรายต่อข้อมูลที่มีค่าของคุณ เนื่องจากซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายมักมีไวรัสหรือไฟล์ที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งมีโอกาสทำให้ระบบขององค์กรหยุดทำงาน
        และสิ่งสำคัญที่ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายไม่มีให้กับผู้ใช้คือ เอกสารประกอบฉบับจริงการสนับสนุนทางเทคนิค,การอัพเกรดซอฟต์แวร์ และการรับประกันคุณภาพ
         คุณจึงไม่สามารถวางใจต่อประสิทธิภาพการทำงานของซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย และยังเป็นสิ่งบั่นทอนประสิทธิผลในทุก ๆ ด้านขององค์กรของคุณลงทุนไป

จะทราบได้อย่างไรว่า ได้รับซอฟต์แวร์ของแท้?
            การบอกว่าซอฟต์แวร์ที่ได้รับเป็นของแท้หรือของปลอมไม่ได้เป็นเรื่องง่ายเสมอไป เนื่องจากซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายไม่น้อยที่จัดทำบรรจุภัณฑ์และองค์ประกอบต่าง ๆ ได้เหมือนกับผลิตภัณฑ์ของแท้ อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตต่อไปนี้อาจบ่งบอกถึงซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายได้
            - มีราคาถูกกว่าปกติมาก
            - โปรแกรมบรรจุอยู่ในแผ่นซีดีที่รวมซอฟต์แวร์จำนวนมากไว้ด้วยกัน โดยมาจากผู้พัฒนาที่ต่างกันด้วย
            - แผ่นซีดีมีสีทอง
            - ผู้ซื้อได้รับเฉพาะกล่องซีดีหุ้มด้วยพลาสติก
            - ไม่มีบรรจุภัณฑ์สำหรับการจำหน่ายปลีก
            - ผู้ซื้อไม่ได้รับสัญญาการใช้งานบัตรลงทะเบียน หรือคู่มือซอฟต์แวร์
            - หากไม่แน่ใจว่าได้รับผลิตภัณฑ์ของแท้หรือไม่ กรุณาติดต่อขอคำแนะนำจาก BSA

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น